วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

อีเมล์ของ Hotmail หายไปโดยไร้ร่องรอย

ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาของปี 2011 ผู้ใช้บริการ Hotmail ของ Microsoft ได้ประสบกับปัญหาอีเมล์เก่าทั้งหมดได้หายไปจาก Inbox โดยไร้ร่องรอยทำให้เกิดความเดือนร้อนพอสมควร เพราะมีข้อมูลสำคัญมากมายอยู่ในเมล์เหล่านั้น
จึงได้โพสต์ข้อความแจ้งไปยังบริษัท พร้อมทั้งขอให้ช่วยกู้อีเมล์เหล่านั้นกลับมา นอกจากปัญหาเมล์หายแล้ว
บางรายพบว่า อีเมล์ใน Inbox ของพวกเขาถูกส่งเข้าไปในโฟลเดอร์ deleted mail (เมล์ที่ลบแล้ว) แทน อย่างไรก็ตาม ข้อความที่โพสต์ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า สาเหตุเกิดจากอะไร?


ทางนักเทคนิค Windows Live โพสต์ตอบกลับไปยังผู้ใช้ที่ประสบปัญหาแล้วว่า ขณะนี้ทีม Hotmail ได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว และกำลังทำการแก้ไข

"กรณีของปัญหานี้จะเกิดกับผู้ใช้ในวงจำกัด และ Microsoft กำลังแก้ไขให้กับผู้ใช้แต่ละรายที่ได้รับผลกระทบ เราต้องขอโทษสำหรับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นกับลูกค้าด้วย"

แต่อย่างไรก็ตามยังคงปฏิเสธที่จะเปิดเผยถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว และเมื่อแหล่งข่าวได้เข้าไปเช็คในโฟรัมของ Microsoft ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการโพสต์ของผู้ใช้ทีประสบปัญหาเกี่ยวกับอีเมล์หาย หรืออีเมล์ถูกย้ายไปอยู่ใน deleted box แล้วเกือบ 500 หน้าแล้ว
สำหรับท่านที่ใช้เป็นประจำคงจุรู้สึกหนา่ว ๆ ร้อนกันซะแล้วละ ไหนจะการงาน ไหนจะข้อมูล ยังไงก็คงต้องสำรองข้อมูลไว้บ้างละนะครับ

Chrome อาจแซง Firefox ภายในสิ้นปีนี้

 แม้จะมีรายงานข่าวพบข้อผิดพลาดใน MS Security Essential ลบบราวเซอร์ Chrome ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ แต่กระแสของ Chrome ยังคงแรงต่อเนื่องอยู่ดี จนล่าสุดดูเหมือนว่า Chrome ของ Google อาจจะเขี่ย Firefox ลงจากอันดับสองได้ในช่วงปลายปีนี้
          StatCounter เว็บไซต์ วิเคราะห์สถิติเว็บได้เปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่า ส่วนแบ่งตลาดการใช้บราวเซอร์ Chrome จากทั่วโลกในช่วงเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 23.6% ตามหลัง Firefox อยู่แค่ประมาณ 3% เท่านั้น ในขณะที่ IE ยังคงเป็นเจ้าตลาดเช่นเคย แม้จะมีส่วนแบ่งฯลดลงเหลือไม่ถึงครึ่ง (41.7%) ประเด็นที่น่าสนใจคือ Chrome เป็นบราวเซอร์ทีมีอัตราการเติบโตของส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้ทั่วโลกที่น่าสนใจ มากๆ เพราะในปีนี้มันมีส่วนแบงเพิ่มขึ้นถึง 8% ในขณะที่ Firefox ลดลง 4% ส่วน IE ลดงลงถึง 9%
หาก อัตราเร็วของการเติบโตยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป Chrome จะสามารถมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 26.6% ภายในอีก 2 เดือน ในขณะที่ หาก Firefox ยังคงรักษาระดับการเติบโตได้เหมือนเดิมจะมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเป็น 25.3% นั่นหมายความว่า Chrome จะกลายเป็นบราวเซอร์อันดับ 2 แทน Firefox (ความจริง มีส่วนแบ่งตลาด Chrome ชนะ Firefox แล้วใน UK เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา StatCounter รายงาน) ในขณะที่ Firefox เร่งเครื่องด้วยการออกเวอร์ชันใหม่ทุกๆ 6 สัปดาห์ (เดือนครึ่ง) แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ส่วนตัว และธุรกิจที่ต้องคอยอัพเดท add-on และสับสนกับอินเตอร์เฟซที่เปลี่ยนบ่อยเกินไป อย่างไรก็ตาม Mitchell Baker ประธาน Firefox และเจ้าของ Mozilla ยังคงยึดมั่นในนโยบายดังกล่าวว่า การออกเวอร์ชันใหม่ที่เร็วขึ้นเป็นทิศทางที่ถูกต้อง คุณผู้อ่านล่ะครับ คิดว่า Chrome จะชนะ Firefox หรือไม่
ที่มา: arip

แอบเล่น Facebook แบบเนียนๆในรูปแบบ Excel

วันนี้เรามีเว็บไซต์ใหม่ที่น่าสนใจมาแนะนำกันสำหรับผู้ที่มีความจำเป็น ต้องติดตามเฟซบุ๊ค (Facebook) ในที่ทำงาน แต่เกรงว่า เจ้านาย หรือใครเห็นเข้าจะไม่เหมาะสม
ตอนนี้มีเว็บไซต์ใหม่ที่ช่วยให้เจ้านายของคุณคิดว่า คุณกำลังคร่ำเคร่งกับงานตรงหน้า ในขณะที่ความจริงคุณกำลังเช็คสเตตัสเพื่อนๆ ใน Facebook ต่างหาก
เพียงแค่เข้าไปที่เว็บไซต์ที่มีชื่อว่า HardlyWork.in แล้วอนุญาตให้มันสามารถเชื่อมต่อการทำงานกับบัญชีผู้ใช้ Facebook ของคุณ เพียงแค่นี้ ข่าวสารจากเพื่อนฝูงที่ฟีดใน Facebook จะถูกเปลี่ยนไปแสดงผลในรูปแบบอินเตอร์เฟซของ Excel แทน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ใช้จะสามารถใช้บริการของ Facebook บนหน้าจอโปรแกรมที่ดูเหมือนกำลังใช้งาน Excel นั่นเอง
แน่นอนว่า เมื่อมองผ่านอย่างไม่ตั้งใจจะมองเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณกำลังรัน Excel ทั้งๆ ที่ความจริง คุณกำลังเมามันส์กับ Facebook ผู้ใช้สามารถสลับหน้าจอแสดงผลจากชุดตัวเลขหลอกๆ เต็มหน้าจอไปเป็น news feed ของเพื่อนๆ ในช่องเซลต่างๆ บนสเปรดชีทแทนได้ด้วยการเคาะแป้น spacebar บนคีย์บอร์ด 

Hardlywork.in นอกจากจะสามารถติดตาม news feed ของเพื่อนๆ ภายใต้อินเตอร์เฟซ Excel แล้ว คุณยังสามารถคลิกบนลิงค์ต่างๆ หรือรูปภาพ เพื่อดูได้อย่างปลอดภัยบน "สเปรดชีท" อีกด้วย แต่ทั้งหมดนี้จะใช้งานไม่ได้อยู่ดี หากออฟฟิศของคุณบล็อค Facebook นะครับ

เตือนภัยผู้ใช้มือถือ Android

ขอขอบคุณบทความเรื่อง “มือถือ Android ของคุณปลอดภัยจากมัลแวร์+ไวรัส หรือเปล่า (อัพเดท: 2012)”จากกองบรรณาธิการเว็บไซต์ ARiP.co.th ที่ให้เรานำมาทำรายการในตอน “เตือนภัยผู้ใช้มือถือ Android” ค่ะ…. 
Smart Phone ตกเป็นเป้าใหญ่ที่เหล่าบรรดาแฮคเกอร์จ้องโจมตี ซึ่งแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากมายอย่าง Android ของ Google อาจจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากมัลแวร์ และไวรัสต่างๆ ในปี 2012 นับพันตัวเลยทีเดียว..
แน่นอนว่า มันเป็นไปตามกระแสฮอตของสมาร์ทโฟนที่โมบายมัลแวร์ หรือไวรัสอันตรายต่างๆ จะเติบโตตามไปด้วย เนื่องจากโดยเนื้อแท้ของ “สมาร์ทโฟน” ก็คือ คอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถรันโปรแกรมฮัลโหลที่ให้คุณโทรออกรับสายกระจายเมสเสจได้นั่นเอง ดังนั้น การที่แฮคเกอร์จะพัฒนามัลแวร์จากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปทำงานบนสมาร์ทโฟนจึงไม่ใช่เรื่องยากลำบากแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าตกใจมากกว่าการป่วนให้สมาร์ทโฟนมีปัญหาการทำงานก็คือ การล้วงข้อมูลส่วนตัวออนไลน์ (online identity) ที่อยู่ในเครื่อง (พาสเวิร์ด อีเมล์, บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต, Facebook, Twitter, YouTube ฯลฯ โอ้ว…ยิ่งนึกยิ่งน่ากลัว) ตลอดจนการแอบใช้ฟีเจอร์บางอย่างที่อาจหมายถึงการเสียค่าบริการต่างๆ บนสมาร์ทโฟน โดยที่คุณไม่เคยได้ใช้เลยด้วยซ้ำ


สมมตินะครับว่า หากใครสักเคนเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้บนสมาร์ทโฟน Android ของคุณได้ โดยเฉพาะมัลแวร์ประเภทสปายแวร์ที่ขยันรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของคุณ เพื่อส่งออกไปให้นายมัน (แฮคเกอร์) หลังจากที่แฮคเกอร์ได้ข้อมูลเหล่านี้่ไปแล้ว พวกเขาสามารถใช้อีเมล์ของคุณ เพื่อทำการต่างๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวได้ หรือแม้แต่ลบอีเมล์ทั้งหมดใน Inbox ตลอดจนแอบอ่านอีเมล์ทั้งหมด รวมถึงแอบลบข้อมูลบนการ์ดหน่วยความจำ SD ก่อนที่จะแช่แข็งไม่ให้ Android Phone ของคุณทำงาได้ (brick your phone) จากสถิติปี 2011 มีรายงานผู้ใช้กว่า 250,000 ราย ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์บน Android เล่ามาซะยืดยาว ยังไม่ได้เข้าเรื่องสักที เพื่อความปลอดภัยของคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ที่น่ารักทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ทีใช้สมาร์ทโฟน Androdi ทิปนี้จะแนะนำให้สมาร์ทโฟนของคุณปลอดภัยจากมัลแวร์ สปายแวร์ และภัยคุกคามอื่นๆ บนออนไลน์ได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ช่วยให้คุณปลอดภัยทีสุด รวมถึงสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ซึ่งผู้ใช้สมาร์ทโฟน Android ควรทราบเป็นอย่างยิ่ง
1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ระบบปฎิบัติการ และแอพฯ ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน Android ของคุณอัพเดทแล้ว และเฟิร์มแวร์ที่ติดตั้งในเครื่องเป็นเวอร์ชันล่าสุด หากเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์แล้ว ระบบปฏิบัติการที่อัพเดทจะทำหน้าที่คล้ายกับเซลล์เม็ดเล็ดขาว โดยมันจะไม่ต้อนรับแอพพลิเคชันที่ติดมัลแวร์ หรือความพยายามในการเจาะระบบของแฮคเกอร์ และเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น คุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ควรจะอัพเกรดซอฟต์แวร์ รวมถึงการอัพเดทเฟิร์มแวร์ล่าสุดของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วย การหมั่นอัพเดททั้ง 3 ส่วนนี้จะช่วยให้ Android Phone ของคุณปลอดภัย และแข็งแรง
*Tip: ไม่ควรทิ้งสมาร์ทโฟนให้ทางร้านรับซ่อมทั่วไปทำการอัพเกรดซอฟต์แวร์ หรือเฟิร์มแวร์ เพราะผู้ให้บริการเหล่านี้ บางรายที่ไม่ได้ใส่ใจมากนัก อาจทำให้สมาร์ทโฟนของคุณติดไวรัส หรือแม้แต่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาสหาเงินผ่านมัลแวร์อันตราย โดยที่คุณไม่รู้ตัวได้เลยก็ได้
 2. หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอพพลิเคชันจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่ไม่น่าเชื่อถือ (แนะนำให้ใช้บริการจาก Android Market) หรือติดตั้งจากไฟล์ .APK สำหรับคำแนะนำข้อสองนี้ก็คือ คุณควรจะติดตังแอพพลิเคชันจาก Android Market เป็นหลัก หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ต่างๆ ยิ่งกว่านั้น คุณไม่ควรติดตั้งแอพพลิเคชันผ่านไฟล์ .APK เนื่องจากคุณจะไม่รู้เลยว่าภายในโค้ดของไฟล์ APK (ไฟล์แพคเกจติดตั้งแอพที่รวมทุกอย่างไว้แล้ว สามารถก็อปปี้เข้าไปในมือถือ สามารถติดตั้งผ่านไฟล์แมแนเจอร์ได้) มีอะไรซุกซ่อนอยู่ ซึ่งอาจหมายถึงมัลแวร์ก็ได้ โดยผลลัพธ์ก็มีตั้งแต่แช่แข็งเครื่องไปจนถึงล้วงข้อมูลส่งให้แฮคเกอร์



3. อ่านรีวิว และคอมเมนต์จากผู้ใช้ก่อนคลิกปุ่มติดตั้ง (Install) แอพฯ
 ประเด็นนี้ ทางกองบรรณาธิการเว็บไซต์ arip มักจะเน้นย้ำเสมอกับผู้อ่าน เรียกได้ว่า เวลาที่หยิบยกเรื่องของการดูแลสมาร์ทโฟนให้ปลอดภัย เป็นต้องพูดถึงทุกครั้งไป แต่ก็อะไรที่ผู้ใช้มักจะละเลย ดังนั้น ขอให้บอกกับตัวเองทุกครังว่า ก่อนจะคลิกปุ่ม Download บนหน้าติดตั้งแอพฯ ใดๆ ก็ตาม เลื่อนหน้าลงที่เซ็คชั่นรีวิวโดยผู้ใช้ แล้วอ่านสิ่งที่พวกเขาพูดถึงกันเสียก่อนว่า เขาพูดถึงมันอย่างไร? เช่น มีปัญหาการใช้งาน ไปจนถึงการแจ้งระวังมัลแวร์ และหากต้องการมั่นใจยิ่งขึ้นก็คลิกไปดูเว็บไซต์บริษํทผู้พัฒนาแอพฯ นั้นๆ ด้วย เพื่อตรวจสอบอีกชั้นว่า มันมีอยู่จริง และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแอพฯ นี้ รวมถึง มันเป็นบริษัทใหม่ที่เพิ่งปล่อยแอพฯ ตัวนี้ หรือเปล่า? หรือทำแอพฯ มากี่ตัวแล้ว? มีผู้ใช้ดาวน์โหลดเยอะแค่ไหน? ส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในทางบวก หรือลบ? นอกจากอ่านรีวิว+คอมเมนต์ผู้ใช้ และตรวจสอบเว็บไซต์เจ้าของแอพฯ แล้ว คุณอาจจะลองเสิร์ชชื่อแอพฯ นี้บนเว็บไซต์ Google เพื่อตรวจสอบการรีวิวจากเว็บไซต์ หรือบล็อกทางด้านเทคโนโลยีดังๆ เพื่อยืนยันความปลอดภัย และคุณภาพของแอพฯ นั้นๆ อีกชั้นหนึ่ง
4. ตรวจสอบนโยบายความเป็นส่วนตัว และการขออนุญาตต่างๆ ของแอพฯ (Permission & Privacy Policy) ก่อนติดตั้งแอพฯ แนะนำให้คุณอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ บนสมาร์ทโฟนของคุณ โดยแอพฯ ที่คุณต้องการจะติดตั้งด้วย ซึ่งคุณต้องตรวจสอบว่า แอพฯ ที่จะติดตั้งเข้าไปนั้นมีการร้องขอสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลอะไรบ้าง? มันสมควร หรือไม่? เช่น หากแอพฯ ที่ติดตั้งเป็นเกมส์หมากรุก แต่มันขอเข้าถึงบัญชีผู้ใช้อีเมล์ และรายชื่อในคอนแทคส์ มันก็แปลกมากๆ ที่ต้องขอขนาดนี้ เพราะไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานของโปรแกรมแม้แต่น้อย




5. จงระวังในขณะที่เชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi สาธารณะ
 เมื่อคุณมีความจำเป็นต้องเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ตด้วย Android Phone ผ่านบริการ WI-Fi สาธารณะ (อาทิ ร้านกาแฟ โรงแรม สนามบิน หรือแม้แต่ห้องสมุด) แนะนำว่า คุณควรจะเลือกเปิดกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ที่เน้นย้ำ และขอแนะนำเป็นสิ่งแรกคือ ปิด Sync และแอพพลิเคชันทั้งหมดที่กำลังรันอยู่ แต่คุณไม่ได้จำเป็นต้องใช้ในขณะนั้น เนื่องจากปัจจุบันมีสคริปท์อันตรายอย่าง Firesheep ที่คอยดักจับยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ดที่มีการส่งผ่านการเชื่อมต่อ WI-Fi สาธารณะขณะนั้น สำหรับกิจกรรมที่ขอเน้นย้ำว่าไม่ควรทำขณะใช้บริการ Wi-Fi สาธารณะก็คือ ไม่ควรดาวน์โหลดแอพฯ ใช้บริการธนาคารออนไลน์ เฟซบุ๊ค (facebook) หรืออีเมล์…เราเตือนคุณแล้วนะ




6. ติดตั้งแอพระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถสแกนไวรัส และสปายแวร์ได้ ท้ายที่สุดของคำแนะนำในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับสมาร์ทโฟน Android ซึ่งดูเหมือนจะเป็นขอปฏิบัติที่สำคัญมาก นั่นก็คือ คุณควรติดตั้งแอพพลิเคชันแอนตี้ไวรัสที่มีประสิทธิภาพให้กับ Android Phone ของคุณด้วย โดยทั่วไป แอพฯที่เลือกใช้ควรจะสามารถสแกนการ์ดหน่วยความจำ SD บนมือถือได้หมดทั้งไฟล์ที่ไม่จำเป็น ไฟล์คำสั่งที่ทำงานได้ (executables) โฟลเดอร์ขยะ และข้อมูลชั่วคราว (temp data) ทั้งนี้แอพฯ รักษาความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม Android จะมีทั้งของฟรี และเสียเงิน ซึ่งสามารถหาดาวน์โหลดจากใน Android Market ได้ไม่ยาก สำหรับของฟรีที่ได้รับความนิยมใช้กันก็จะมี Lookout Mobile Security ซึ่งมันจะมีการสอดส่องทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้น Android Phone และแจ้งเตือนเมื่อใดก็ตามที่แอพพลิเคชันที่ดาวน์โหลดเป็นมัลแวร์ หรือพยายามจะติดตั้งสปายแวร์เข้าไปในระบบ นอกจากนี้ ก็จะมีแอพฯ อย่าง Norton Mobile Security lite, AVG antivirus free mobiliation, NetQueen และ Dr.Web Antivirus lite
บทความจาก : กองบรรณาธิการเว็บไซต์ ARiP.co.th

พื้นที่บนฮาร์ดิสหายไปไหน




บางคนอาจจะเคยพบปัญหานี้มา คือ  พื้นที่บนฮาร์ดิสของคุณหายไป จะทำอย่างไงกันดี วันนี้มีวิธีเช็คง่ายๆมาฝาก
1.ก่อนอื่นให้คุณมองหาไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ (สำหรับผู้ใช้ Windows ให้ใช้ฟังก์ชั่น
Search ทำการค้นหาได้เลย โดยไปที่ Start -> Search ->For Flies or Forders)
2.คลิกเลือกออปชั่นการค้นหาเป็น All flies and forder
3.พิมพ์ *.* เข้าไปในช่อง All or part of the file name :
4.ในช่องดรอปดาวส์ลิสบ๊อกซ์ Look in : เลือกเป็น My Computer
5.กำหนดขนาดไฟล์ที่ต้องการค้นหาในเซกชั่น What size is it? เลือก Specifiy Size ในช่องแรกให้กำหนดเป็น at least
6.ในช่องที่สองพิมพ์ 1000000
    จากนั้นคลิกปุ่ม Search ระบบก็จะค้นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 1 GB.และถ้าพบ file ที่มีขนาดเกิด 1 GB.
ขึ้นมาหละก็ ให้คุณทำงานจัดการมัน.! ได้ตามสบายเลย.^_^ เป็นเทคนิคง่ายๆที่นำมาผากกันนะครับ

คีย์ลัดที่มีประโยชน์บน Windows

นำเอาเคล็ดลับและเทคนิคคีย์ลัดที่มีประโยชน์ บน   Windows ที่หากใช้บ่อย ๆ จะทำให้เราทำงานต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น และสะด้วยกขึ้น มาก
เอามาแบบที่น่าใช้ เพราะถ้าเยอะเกิน ก็ จำไม่ค่อยได้ หรือไม่ค่อยได้ ใช้ เอา แบบที่ใช้แล้วช่วยเราได้มากละกันครับ

กดปุ่ม SHIFT เมื่อใส่แผ่น CD , DVD เพื่อป้องกันไม่ให้ไดรฟ์ซีดี เรียกใช้แผ่นซีดีโดยอัตโนมัติ หรือหยุดการ Autorun
กด Shift + Delete เพื่อลบไฟล์ หรือโฟลเดอร์ ที่เลือกไว้อย่างถาวร
กด F2 เพื่อเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เลือกไว้

กด CTRL + A เพื่อเลือกทั้งหมด

กด F3 ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์

กด ALT + ENTER ร่วมกัน เพื่อดูคุณสมบัติของรายการที่เลือก

กด ALT + F4 เพื่อปิดไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ใช้งานอยู่

กด CTRL + F4 เพื่อปิดไฟล์ โฟลเดอร์หรือ โปรแกรม ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่

กด ALT + TAB เพื่อสลับหน้าต่างระหว่าง แฟ้ม โฟลเดอร์ หรือ  โปรแกรม ที่เปิดอยู่

กด SHIFT + F10 เพื่อแสดงเมนูทางลัดสำหรับโปรแกรมที่เลือก

กด CTRL + ESC เพื่อเปิด Start menu

F10 เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่ใช้งาน

ลูกศรขวา เปิดเมนูถัดไปทางขวาหรือเปิดเมนูย่อย

ลูกศรซ้าย เปิดเมนูถัดไปทางซ้ายหรือปิดเมนูย่อย

กด F5 เพื่อรีเฟรชหน้าต่างที่ใช้งาน

BACKSPACE ถอยหลังเพื่อดูโฟลเดอร์หนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer

กดปุ่ม ESC เพื่อยกเลิกการใช้งานใด ๆ

มาเปลี่ยนชื่อของ Recycle Bin กัน

คุณสามารถเปลี่ยนชื่อของ Recycle Bin ของระบบได้หากต้องการ 
มันเป็นเรื่องง่ายและน่าสนใจมากเหมือนกันนะสำหรับคนชอบปรับ  แต่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในรีจิสทรีของ Windows แนะนำว่าต้องมีความรู้บ้างพอสมควร ไม่งั้นเครื่องเราอาจจะเอ๋อเลยก็ได้
ขั้นตอนการทำดังนี้
  • ขั้นแรกให้ไปที่ Start แล้วจากนั้นเลือกไปที่ Run 
     
  • พิมพ์ regedit.exe ในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้นมาและกด Enter จากนั้นจะมี regedit Editor ขึ้นมา
     
  • ในหน้าต่างแก้ไข regedit  เปิด HKEY_CLASSES_ROOT แล้วหา CLSID คีย์ดังต่อไปนี้

    {645FF040-5081-101B-9F08-00AA002F954E}

    แล้วไปที่ ShellFolder ซึ่งจะอยู่ในเมนูสุดท้่ายดังแสดงในรูป
     
icone corbeille windows
 
  • นี่เพียงแค่เปลี่ยนค่าข้อมูล Attribute จาก "40 01 00 20" เป็น "70 01 00 20"



    แถมด้วยคี้ย์ อื่น ๆ ครับ ทำหน้าที่ต่าง ด้านล่างเลย

    0000 50 01 00 20 –> Rename
    0000 60 01 00 20 –> Delete
    0000 70 01 00 20 –> Rename & Delete
    0000 41 01 00 20 –> Copy
    0000 42 01 00 20 –> Cut
    0000 43 01 00 20 –> Copy & Cut
    0000 44 01 00 20 –> Paste
    0000 45 01 00 20 –> Copy & Paste
    0000 46 01 00 20 –> Cut & Paste
    0000 47 01 00 20 –> Cut, Copy & Paste
หลังจากดำเนินการทุกขั้นตอนด้านบนให้ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วคุณจะพบตัวเลือกในการเปลี่ยนชื่อถังรีไซเคิลหลังจากที่คลิกขวาที่ไอคอนถังรีไซเคิล ตอนนี้คุณสามารถเปลี่ยนชื่อใหม่ตามที่คุณต้องการ ได้แล้ว